27ภาพถ่ายที่สวยที่สุดในโลก แต่สะท้อนลึกถึงแก่นความลำบาก และยากไร้ของคนจน

นอกจากเราจะได้เห็นเทคนิคการถ่ายมีสีสันและองค์ประกอบอันสวยงามแล้ว เรายังจะได้เห็นเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของช่างภาพ ที่ต้องการจะสื่อสารกับคนดูอย่างมีนัยยะแอบแฝงด้วยเช่นกัน

‘CGAP 2015 Photo Contest’ งานประกวดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความสำคัญแก่การถ่ายภาพที่แสดงถึงวิถีชีวิตภาคครัวเรือนที่ยากไร้และมีระบบการจัดการเงินแบบรากหญ้า ที่กำลังรอความรู้รวมถึงเงินทุนจากรัฐบาล และนักลงทุนต่างๆ

และนี่คือ 27 สุดยอดภาพถ่ายที่ดีที่สุด ในบรรดา 3,300 ภาพจากช่างกล้องมืออาชีพ 77 ประเทศ เรามาดูรายละเอียดกันเลย ว่าแต่ละภาพของช่างภาพมืออาชีพระดับโลกนั้น เขาจะสื่อสะท้อนอะไรในภาพของเขา ให้เราได้รับรู้บ้าง

.

1. ภาพชนะเลิศอันดับ 1 “การทำนาข้าว” ภาพจากอินเดีย โดย ซูจาน ซาร์คาร์

.

ในประเทศอินเดีย ข้าวถือเป็นอาหารหลักของชาวเบงกอลตะวันตก และการทำนานนั้นทุกคนในครอบครัว ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และแม้แต่เด็ก ต่างมีหน้าที่ต้องช่วยกันดำนา

.

2. ภาพชนะเลิศอันดับ 2 “หว่านแหจับปลา” ภาพจากจีน โดย ลี่หมิง เฉา

.

ชาวประมงที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำและทะเลสาปในจีน ด้วยความยากจน พวกเขาจะออกจับปลาด้วยแหในตอนช่วงเช้า เพื่อเอาปลาที่ได้ไปขายในตลาดเพื่อเลี้ยงชีพ

.

3. ภาพชนะเลิศอันดับ 3 “มือแห่งเสรีภาพ” ภาพจากอินเดีย โดย ปรานาบ บาซาค

.

หญิงสาวรัยรุ่นกำลังช่วยงานพ่อของเธอ ที่หมู่บ้านปั้นหม้อดินเผาเขตชานเมืองในรัฐเบงกอลตะวันตก ผ่านมาแล้วถึง 5 ปี ที่ครอบครัวของเธอได้เริ่มอาชีพปั้นหม้อด้วยการกู้ยืมเงินก้อนเล็กๆ จากธนาคารสหกรณ์ประจำหมู่บ้าน พอหลังจากได้หม้อดินเผาแล้ว พวกเขาก็จะนำมันไปวางขายที่ตลาดท้องถินในเมืองจันดานาการ์ เป็นเรื่องราวที่เรียบง่ายของชีวิตครอบครัวช่างปั้นหม้อ

.

ได้ดู 3 รางวัลอันดับสูงสุดไปแล้ว ทีนี้ก็ตามด้วยภาพชนะเลิศจากกลุ่มหัวข้อการประกวดอื่นๆ ในงานเดียวกันต่อเลย

.

4. ชื่อภาพ “งานในหุบเขา”ภาพจากอินเดีย โดย ตาเตียน่า ซาราโปวา

.

เหล่าหญิงชราชาวลาดัคห์ช่วยกันทำสวนอยู่ในที่ราบของหุบเขา ผักที่ได้จะนำลงไปขายยังตลาดท้องถิ่นในลาดัคห์ เมืองในตอนเหนือของอินเดีย

.

5. ชื่อภาพ “ใยส่าหรี” ภาพจากอินเดีย โดย ตาเตียน่า ซาราโปวา

.

ชายอินเดียคนนี้ทอผ้าไหมส่าหรีด้วยวิธีดั้งเดิม ที่ชั้นแรกของบ้านหลังเล็กๆ ของเขาในเมืองพารา ณ สี

.

6. ชื่อภาพ “การสร้างผู้สร้าง” ภาพจากอินเดีย โดย ปัฐเมธ วินถ กาเดการ์

.

ผู้หญิงคนนี้ทำงานที่หลังบ้านของเธอเองย่าน เธอสร้าง “พระพิฆเนศ” เทพที่นิยมบูชากันในศาสนาฮินดู สำหรับเทศกาล คเณศจตุรถี ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปี เธอกู้ยืมเงินมาเป็นทุนในการผลิตงาน จากองค์กรส่งเสริมพลังสตรีในท้องถิ่น

.

7. ชื่อภาพ “ความสุขของแม่ค้า” ภาพจากอินเดีย โดย สุบราตา อดิการี่

.

เธอคนนี้หอบเอาขิงและกระเทียมเดินทางไกลกว่า 50 กม. จากหมู่บ้านเข้ามาขายในเมือง เพราะเธอและคนอื่นๆ ไม่รู้จักแหล่งรับซื้อและไม่มีที่ขายที่แน่นอน จึงต้องเข้ามาปูพื้นเร่ขายตามริมถนนและใต้สะพาน

.

8. ชื่อภาพ “ช่างผมรุ่นเดอะ เอลเตอริโอ” ภาพจากเปรู : เดวิด มาร์ติน ฮัวมานิ บีโดยา

.

เอลเตอริโอ อาร์ตูโร ลีออง เมเจีย ชายเฒ่าชาวเปรูวัย 90 ปี ผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับอาชีพช่างตัดผมมาตั้งแต่เขาอายุ 25 ปี เก้าอี้ตัดผมของเขาที่เห็นนี้ ได้สร้างสไตล์และความงามให้แก่เพื่อนบ้านของเขามาแล้วตลอดจนรุ่นลูกถึงรุ่นหลาน

.

9. ชื่อภาพ “มะเขือเทศ” ภาพจากตุรกี โดย บิวเลนท์ เซาเบิร์ก

.

ครอบครัวชาวไร่ ในหมู่บ้านเล็กๆที่เบอร์ซ่า อัคซู ประเทศตุรกี กำลังคั้นน้ำแยกเนื้อเพื่อทำซอสมะเขือเทศ

.

10. ชื่อภาพ “ดวงตาแห่งรายละเอียด” ภาพจากดูไบ โดย อีวานส์ แคลร์ ออนเต

.

ช่างซ่อมนาฬิกาผู้นี้ ใช้พื้นที่ว่างเล็กๆ ในดูไบ หาเลี้ยงชีวิตด้วยการรับซ่อมนาฬิกาให้กับผู้คนในท้องถิ่น

.

11. ชื่อภาพ “การเก็บข้าวโพดของ ฟาริดา” ภาพจากแทนซาเนีย โดย ไฮเลย์ ทัคเกอร์

.

สาวชาวเกษตรกร ฟาริดา บัลม่า และ บีธัส พ่อของเธอ กำลังช่วยกันเก็บข้าวโพดสำหรับส่งขายเป็นอาหารให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ครอบครัวของ ฟาริดา มีพี่น้องมากกว่า 20 คน ด้วยฐานะที่ยากจนจึงทำให้เธอและพี่น้องบางคนไม่ได้รับการศึกษา แต่ยังโชคดีอยู่บ้างที่พวกเธอได้รับเมล็ดพันธุ์และวัสดุในการปลูก จากกองทุน One Acer Fund องค์กรที่คอยช่วยเหลือเกษตรกรชาวแอฟริกา

.

12. ชื่อภาพ “คุณแม่วัยใส กับตุ๊กตาไม้” ภาพจากอินเดีย โดย กัวแธม ดอว์

.

สาวชาวอินเดียที่ยากจนส่วนใหญ่ มักตั้งครรภ์และต้องกลายเป็นคุณแม่ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น และเธอในภาพ ก็เป็นอีกคนที่ต้องเลี้ยงลูกไปพร้อมๆ กับทำตุ๊กตาไม้เพื่อช่วยสามีหาเลี้ยงครอบครัว

.

13. ชื่อภาพ “การเอาชนะเนินทราย” ภาพจากเวียดนาม โดย เล มิน กัว

.

แรงงานกำลังหาบของข้ามเนินทรายที่เวียดนาม

.

14. ชื่อภาพ “คนงานโรยกรวด” ภาพจากบังคลาเทศ โดย ฟาอิสวอล อาซิม

.

ที่โรงงานบดกรวด ย่านอุตสาหกรรม ในเมืองจิตตะกอง บังคลาเทศ ยังคงฟุ้งเต็มไปด้วยฝุ่นและทราย อีกฝากของหน้าต่างกระจกที่กั้นฝุ่นของโรงงาน เผยใบหน้าของสามคนงานที่ติดสัญญาจ้างต้องทำงานอยู่ที่นี่เป็นเวลา 6 เดือนเต็ม หลังจากนั้นพวกเขาจึงจะได้กลับบ้านหรือย้ายไปทำงานต่อที่อื่น

.

15. ชื่อภาพ “แม่ผู้สู้ชีวิต” ภาพจากอินโดนีเซีย โดย จีรี่ วิจายัญโต

.

หญิงชาวสวนกำลังปลูกต้นอ่อนพริกในขณะที่ต้องแบกลูกชายของเธอไปด้วย ซึ่งถือเป็นภาพปกติไปแล้วสำหรับหมู่บ้านในอินโดนีเซีย ที่ผู้หญิงต้องทำงานเกษตรกรรมแทนสามีของพวกเธอ ที่ต้องเข้าเมืองไปทำงานแรงงานในโรงงาน

.

16. ชื่อภาพ “รุ่งอรุณ” ภาพจากเวียดนาม โดย ดู ฮิว ลีม

.

ชาวเวียดนามในจังหวัดบักเลียวส่วนใหญ่ทำประมง หาเลี้ยงครอบครัวโดยการจับกุ้งและปลาในช่วงเช้าของทุกวัน แล้วนำมาขายที่สะพานปลาและในตลาดสดตอนช่วงสาย

.

17. ชื่อภาพ “ฝูงแกในทุ่งยามเช้า” ภาพจากจีน โดย ลี่หมิง เฉา

.

ครอบครัวปศุสัตว์ในจีนรายหนึ่ง กู้ยืมเงินมาซื้อฝูงแพะและแกะมากกว่าพันตัว และพวกเขาก็หารายได้จากพวกมันด้วยการขายขนแกะ รีดนมแพะ และกินเนื้อแกะในการยังชีพ

.

18. ชื่อภาพ “เพื่อการเดินทางครั้งต่อไป” ภาพจากเวียดนาม โดย ลอค ไม

.

ที่หมู่บ้านชาวประมงในเมืองญาจาง ผู้หญิงเหล่านี้จะซ่อมอวนให้สามีของพวกเธอ สำหรับการออกทะเลจับปลาในครั้งต่อไป

.

19. ชื่อภาพ “ชนเผ่าบนภูเขาไฟ” ภาพจากเอกวาดอร์ โดย หลุยส์ ซานเชซ ดาวิญา

.

หญิงชาวเขาผู้ยากไร้คนนี้กำลังตากวัสดุสำหรับทำหมวกสไตล์ปานามา หมวกที่ขึ้นชื่อเรื่องราคาที่แพงเกินคนยากจนจะซื้อใส่ได้

.

20. ชื่อภาพ “ผลหมาก” ภาพจากบังคลาเทศ โดย เอ็ม ยูซุฟ ตูชาร์

.

ชายคนนี้กำลังเตรียมนำหมากของเขาไปขายในตลาดท้องถิ่นในเขตเมืองทางตอนใต้สุดของบังคลาเทศ เขาเป็นอีกผู้หนึ่งที่หลีกหนีการว่างงานมาปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลผลิตขายเอง

.

21. ชื่อภาพ “ตลาดค้าอูฐ” ถาพจากอียิปต์ โดย มูฮาเหม็ด คาเมล

.

เหล่าผู้ค้าอูฐกำลังนำมันเข้ามาขายในตลาดอียิปต์

.

22. ชื่อภาพ “คนงาน” ภาพจากบังคลาเทศ โดย มูฮาหมัด รากิบูล ฮาซาน

.

อัสการ์ เมีย ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมสายพานขนาดเล็ก ซึ่งโรงงานขนาดเล็กเหล่านี้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในบังคลาเทศ ช่วยเพิ่มโอกาสสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนว่างงานได้เป็นอย่างดี

.

23. ชื่อภาพ “เหล่ามนุษย์ปักแห” ภาพจากเวียดนาม โดย

.

ที่ชายฝั่งทะเลเมืองบักเลียวในเวียดนาม ชาวบ้านท้องถิ่นส่วนใหญ่ออกหาจับกุ้ง ปูและปลาตัวเล็กตัวน้อยตามขอบชายทะเล ด้วยไม้ไผ่ร้อยตาข่ายตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน การต้อนจับปลาด้วยอุปกรณ์แบบนี้เป็นเรื่องยากแต่กลับให้รายได้ที่ต่ำ

.

24. ชื่อภาพ “ช่องหน้าต่างของร้านค้าเล็กๆ” ภาพจากอินเดีย โดย รานา พานดี

.

ชายคนหนึ่งมองลอดผ่านหน้าต่างออกมา จากในร้านเล็กๆ ของเขา ในขณะที่ผู้หญิงคนหนึ่งกำลังเดินผ่านทางเดินที่อยู่ติดกัน ถึงจะดูเงียบเหงาแต่เจ้าของร้านก็ใช้บริการต่างๆ เช่นไฟฟ้าและโทรศัพท์ ช่วยให้ธุรกิจและการเงินของเขายังคงดำเนินต่อไปได้

.

25. ชื่อภาพ “ซี่โครงเหล็ก” ภาพจากอินเดีย โดย ซูแบซิส เซน

.

เด็กชายและพ่อของเขา กำลังทำงานในร้านตีเหล็กของพวกเขาเอง

.

26. ชื่อภาพ “เก็บไข่เป็ด” ภาพจากเวียดนาม โดย ทราน วาน ตุ๋ย

.

การล้อมคอกแบบง่ายๆ เพาะพันธุ์เป็ดและทำฟาร์มไข่ ถือเป็นรายได้หลักของครอบครัวนี้ในเวียดนาม

.

27. ชื่อภาพ “หญิงชรา” ภาพจากอินเดีย โดย สุปรียา บิสวาซ

.

ช่างภาพหญิงชรา วางเร่ขายผลงานภาพถ่ายของตัวเองริมกำแพงทางเดินในอินเดีย

.

ที่มา : dailymailsayhibeauty