13 เรื่อง ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองไทย ที่คุณอาจยังไม่รู้

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดขึ้นมากมายจนบางครั้งอาจจะลืมไปแล้วว่า เกิดอะไรขึ้นเมื่อไหร่ ใครทำให้เกิดขึ้นครั้งแรกบ้าง หนังสือ “บันทึกไทย” ของสำนักพิมพ์ขวัญข้าว′94 ได้รวบรวมเรื่องราว สุดยอด รายแรก แปลกใหม่ ไทยแท้ 2558 เพื่อให้ย้อนรำลึกและจดจำเรื่องราวในอดีตและปัจจุบัน เป็นเรื่องราวรอบตัวที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัย ไว้อย่างน่าสนใจ เช่น

.

1. โฆษณาเรื่องแรก

โฆษณาสินค้าและธุรกิจชิ้นแรกในสื่อของไทยคือ โฆษณาอู่ต่อเรือบางกอกด๊อก (Bangkok Dock) ลงในหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุฯ หรือบางกอก รีคอร์เดอร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2408

story-first-in-thailand-00

.

2. คนไทยขึ้นเครื่องบินคนแรก

พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะนั้นดำรงยศนายพลตรี ทรงเป็นผู้โดยสารคนแรกที่ขึ้นเครื่องบินทดลองชุดแรก เมื่อคราวที่นายวัลเดน บอร์น ชาวเบลเยียม นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรท์ มาสาธิตการบินถวายให้ทอดพระเนตร เมื่อการแสดงเสร็จสิ้นได้ทรงซื้อเครื่องบินนั้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา

.

3. ธนินท์ เจียรวนนท์ ได้รับใบรับรองจากจีนคนแรก

ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้ผลักดันให้บริษัทซีพีเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของไทยและของโลก เจ้าสัวธนินท์ตัดสินใจเข้าไปดำเนินธุรกิจในจีน เมื่อปี 2522 ทันทีที่ เติ้ง เสี่ยว ผิง ประกาศปฏิรูปเปิดประเทศรับนักลงทุนต่างชาติ เจ้าสัวธนินท์ได้รับใบอนุญาตสำหรับนักลงทุนต่างชาติหมายเลข 001 ถือเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการรายแรก

.

4. วิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกของไทย

ตลาดหุ้นเปิดตลาดครั้งแรกในปี 2518 จากนั้นก็เริ่มพังในปี 2521 ทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย เงินไหลออกจากระบบ สูญเสียสภาพคล่อง ต้องลดค่าเงินบาท ทางการเข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง รู้จักกันในชื่อ โครงการ 4 เมษายน 2527 เอกชนล้ม เกิดหนี้จำนวนมหาศาล คนตกงานมาก เงินเฟ้อสูง ต้องรับความช่วยเหลือด้านการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก

.

5. เป๊ปซี่

ออกสู่ตลาดครั้งแรกด้วยรูปลักษณ์ขวดแก้วขนาด 10 ออนซ์ ในตอนเช้าวันพุธที่ 18 มีนาคม 2496 และเป๊ปซี่ได้จ้างผลิตภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2525

.

6. บุฟเฟต์ครั้งแรกในไทย

เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2518 ที่โรงอาหารหลังห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดย นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เป็นเจ้าภาพในการจัดเลี้ยง

.

7. ธนบัตรไทยมูลค่าสูงสุด

มีราคา 5 แสนบาท เป็นธนบัตรที่ระลึกชนิดพิเศษเนื่องในโอกาสวันราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครบรอบ 50 ปี ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ 8 พฤษภาคม 2543 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยนำออกมาจำหน่ายในราคาฉบับละหนึ่งล้านบาท ปัจจุบันมีธนบัตร 5 แสนบาท อยู่ในประเทศไทยเพียง 234 ใบเท่านั้น (มูลค่ารวม 117 ล้านบาท)

banknote-500000

.

8. คำขวัญวันเด็ก

คำขวัญวันเด็กครั้งแรกปี 2499 สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มอบให้ไว้ว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม”

.

9. โค้ก 1 บาท

Coca-Cola เข้าสู่ประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 2492 โรงงานบรรจุขวดแห่งแรกตั้งอยู่ที่ ถ.หลานหลวง กรุงเทพฯ ทำการผลิตโคคา-โคลา ขนาด 6.5 ออนซ์ ขายในราคา 1 บาท ด้วยเครื่องบรรจุขวดขนาดเล็กเพียง 2 เครื่อง ที่ชื่อว่า “ดิ๊กซี่” และใช้รถขนส่งเพียง 7 คัน

story-first-in-thailand-01

.

10. คนเดียว 9 ครั้ง

จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีที่มอบคำขวัญวันเด็กให้มากครั้งที่สุด จำนวน 9 ครั้ง เริ่มมอบตั้งแต่ปี 2508-2516

.

11. ปลาบู่ทอง

ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เรื่องแรก หรือละครพื้นบ้าน ออกฉายทางทีวีในปี 2510 ทางช่อง 7 และเป็นเรื่องแรกที่สร้างและกำกับโดย ไพรัช สังวริบุตร เจ้าของบริษัท ดาราฟิล์ม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นดาราวิดีโอ ปัจจุบันคือ บริษัท สามเศียร จำกัด นำแสดงโดย พัลลภ พรพิษณุ กับเยาวเรศ นิศากร ซึ่งรับบทเอื้อยกับอ้าย ต่อมาทั้งคู่กลายเป็น คู่พระ-นางยอดฮิต

.

12. บอลหญิงไทยไปบอลโลกครั้งแรก

ทีมฟุตบอลหญิงไทยจะได้เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในเดือนมิถุนายน2558ที่ประเทศแคนาดา ภายใต้การนำของโค้ช หนึ่งฤทัย สระทองเวียน และ นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม ซึ่งชนะเวียดนาม เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 ในการแข่งฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย “เอเอฟซี วีเมนส์ เอเชี่ยนคัพ 2014” ที่เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และเป็นทีมอันดับที่ 5 ที่มีสิทธิ์ในการเข้าแข่งขันฟุตบอลโลก 2015 รอบสุดท้าย

.

13. คอนเสิร์ตในไทยครั้งแรก

คนไทยเริ่มเรียกการฟังดนตรีว่า “ไปฟังคอนเสิร์ต” ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะคนไทยเริ่มเรียนภาษาฝรั่งมากขึ้นในวงการดนตรีไทย เมื่อพูดกันถึงคอนเสิร์ต ก็จะต้องนึกไปถึงงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เพราะสมเด็จฯเจ้าฟ้าพระองค์นี้ทรงนิพนธ์บทคอนเสิร์ตไว้สำหรับการแสดงสมัยนั้นก็เรียกกันอย่างโก้หรูเป็นฝรั่งว่า”คอนเสิร์ต”เพราะเป็นการแสดงอวดแขกบ้านแขกเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่

.

ที่มา : PrachachatOnline