ฟื้นคืนชีพไดโนเสาร์ ด้วยการสกัดดีเอ็นเอจากยุงที่อายุนับล้านปี!!

ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ.2000 นักสำรวจได้ค้นพบซากของแพะภูเขาป่าที่ชื่อเซเลีย ที่เสียชีวิตเนื่องจากถูกต้นไม้จากหน้าผาหล่นทับ ใครเลยจะรู้ว่านั่นคือจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ เจ้าแพะป่าเซเลียเป็นสายพันธุ์พิเศษที่หาได้ยาก แต่นักวิทยาศาสตร์กลับมองในเป้าหมายที่แตกต่างออกไป

.

Mountain Model

.

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนต้องการนำตัวอย่างของเนื้อเยื่อของเซเลียมาดัดแปลงเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือ การนำไดโนเสาร์ที่เคยมีชีวิตเมื่อหลายล้านปีก่อนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในยุคปัจจุบัน โดยนักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากการฉีดเซลล์ดีเอ็นเอที่แพะป่าเซเลียเข้าไปในไข่แพะที่ได้รับการปลดล็อคจากพันธุกรรมของตัวเอง จนเกิดเป็นตัวอ่อน และนำตัวอ่อนนั้นไปใส่ในมดลูกของแพะ แต่การทดสอบในครั้งนั้นประสบความล้มเหลว

.

ก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ.1980 จอห์น ทคาช และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และการแพทย์ในมอนทานา สหรัฐฯ ที่สนใจดีเอ็นเอที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยเฉพาะไดโนเสาร์ กล่าวว่า “จะเกิดอะไรขึ้นหากเราสามารถนำดีเอ็นเอไดโนเสาร์จากยุงที่ถูกผลึกในอำพันสีเหลืองออกมา และกู้คืนเซลล์เม็ดเลือดสีแดงของไดโนเสาร์แล้วนำมันใส่เข้าไปในไข่ที่มีดีเอ็นเอของพวกมันอยู่แล้ว นี่อาจเป็นทางที่พอจะเป็นไปได้ที่สุดในการฟื้นคืนชีพไดโนเสาร์” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนวนิยายและภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Jurassic Park

.

50537463 - fungus gnat mycetophilidae imprisoned in baltic amber

.

ทฤษฎีนี้อาจดูเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่ จอร์จ พอยนาร์ นักกีฏวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใช้เวลาตลอดชีวิตของเขาศึกษาซากฟอสซิลของแมลงที่ถูกเก็บรักษาไว้ในเรซินของต้นไม้ โดยกล่าวว่า เซลล์ของพวกมันยังเหมือนเมื่อ 40 ล้านปีก่อน จนนำไปสู่คำถามว่า พอจะมีทางที่นักวิทยาศาสตร์จะนำเซลล์และดีเอ็นเอของสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์มาใช้ในการฟื้นคืนชีพไดโนเสาร์ได้หรือไม่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ฟันธงเสียทีเดียว

.

หากในอนาคต นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้สามารถหาวิธีฟื้นคืนชีพไดโนเสาร์ได้สำเร็จ บางทีเราอาจได้เห็นสวนสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์แบบในภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ก็เป็นได้

.

ที่มา : spokedark