นกจาบสังคม ที่สร้างรังขนาดใหญ่ เพื่อรับมือกับอุณหภูมิและอันตรายจากสัตว์นักล่า

ปกติแล้วเราจะเห็นนกส่วนใหญ่ทำรังเล็กๆ ขนาดพออยู่ได้หรือพอเก็บไข่ไว้ได้อย่างปลอดภัย แต่สำหรับนกจาบสังคม (Social Weavers )พวกมันจะสร้างรังขนาดใหญ่จนทำให้ต้นไม้โน้มตัวต่ำลงได้ นกจาบสังคมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Philetairus socius อาศัยอยู่ทางใต้ของแอฟริกา รังของพวกมันมีความโดดเด่นมาก จนขึ้นว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ รังของพวกมันมีน้ำหนักรวมมากกว่า 1000 กิโลกรัม โดยมีความกว้างประมาณ 6 เมตร และมีความสูง 3 เมตร ซึ่งแยกย่อยเป็นรังเล็กกว่า 100 รัง

.

เมื่อนกจาบสังคมตาย รังของพวกมันจะไม่ถูกทำลาย แต่จะมีนกรุ่นต่อไปเข้ามาอาศัยแทนพร้อมกับปรับปรุง ซ่อมแซมไปเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ได้เป็นเวลาหลายปี นกจาบสังคมสร้างรังจากวัตถุธรรมชาติหลายอย่าง โดยเริ่มทำโครงสร้างจากกิ่งไม้ จากนั้นก็ตกแต่งภายในด้วยหญ้าและขนนก นอกจากนี้นกแต่ละตัวจะสร้างห้องส่วนตัวอยู่ ซึ่งมีทางเข้ายาว 10 นิ้ว กว้าง 1 นิ้ว จากนั้นก็จะล้อมด้วยด้ามแหลมของฟางเพื่อป้องกันงูเข้ามา

.

ทั้งนี้นกที่มีคู่แล้ว พวกมันจะอยู่ในห้องคู่ของตัวเอง ส่วนนกตัวอื่นๆ ที่เหลือจะอยู่รวมกันห้องละ 3-4 ตัว ประโยชน์ของการทำรังแบบนี้คือ เป็นการช่วยให้นกจาบสังคมไม่ต้องย้ายถิ่นฐานบ่อย เนื่องจากอุณหภูมิในทะเลทรายค่อนข้างแปรผันตลอดเวลา Gavin Leighton นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย University of Miami บอกว่า “ผมคิดว่าอุณหภูมิในตอนกลางคืนอยู่ที่ 1-1.6 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิภายในรังของนกที่อยู่ 3-4 ตัว อยู่ที่ 21-23 องศาเซลเซียส ดังนั้นข้อดีของรังขนาดใหญ่นี้คือการที่พวกมันมีที่อยู่ที่อบอุ่น ในช่วงตอนกลางคืน”

.

รังนกขนาดใหญ่นี้ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องนกจากอุณหภูมิเท่านั้น แต่ยังช่วยปกป้องพวกมันจากแดด ฝน และภัยแล้งด้วย โดยปกติแล้วสัตว์ทั่วไปจะมีความต้องการน้ำในปริมาณมากในช่วงฤดูร้อนเพื่อช่วยไม่ให้ร่างกายขาดน้ำจากการโดนไอแดด

ในขณะที่นกส่วนใหญ่ต้องการน้ำปริมาณมาก เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายจากการกระพือปีก อย่างไรก็ตามนกจาบสังคมสามารถหาความเย็นในช่วงฤดูร้อนจากรังของมันพวกมันเอง โดยการกักเก็บน้ำไว้ข้างในเพื่อกระจายความร้อน

.

Social weaver birds nest in a tree in Africa – David Attenborough – BBC wildlife

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการทำรังขนาดใหญ่คือเพิ่มโอกาสให้พวกมันรอดพ้นจากอันตรายที่มาจากสัตว์นักล่า เนื่องจากทางเข้ารังจะอยู่ด้านล่าง ทำให้ยากต่อการสังเกตของนักล่าหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ ในขณะที่สัตว์ชนิดอื่นๆ จะหาประโยชน์จากรังขนาดใหญ่นี้ด้วยการขึ้นไปนั่งบนรังขนาดใหญ่ โดยไม่กระทบต่อนกจาบสังคม แร้งแอฟริกาเป็นที่รู้กันดีว่ามันชอบขึ้นไปอยู่บนรังของนกจาบสังคม ส่วนนกฟินช์หัวแดงเองก็มักจะยกครอบครัวของมันเข้าไปอยู่ในห้องที่ว่าง เช่นเดียวกับเหยี่ยวที่มักจะมาฆ่าเจ้าบ้านถึงถิ่น

.

Leighton บอกว่า “มีบางข้อมูลระบุว่า บางครั้งเหยี่ยวจะกินนกจาบสังคมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าตกใจ แม้จะถูกจะสัตว์นักล่ากิน พวกมันไม่ย้ายหนีไปไหน แต่กลับซ่อมบำรุงรังต่อไปเรื่อยๆ” อย่างไรก็ตาม การมีสัตว์นักล่าอย่างเหยี่ยวมาบินวนอยู่รอบๆ ก็เป็นประโยชน์กับนกจาบสังคมเหมือนกัน เพราะทำให้สัตว์นักล่าอื่นๆ อย่างงู หรือนกชนิดอื่นไม่กล้าเข้ามา ซึ่งมันก็คุ้มค่ากับความเสี่ยง

แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งของรังขนาดนี้คือ เมื่อเกิดฝนตกหนักและมีแสงแดดไม่เพียงพอต่อการระเหย ความชื้นและน้ำอาจทำให้รังของพวกมันตกลงไปได้ เนื่องจากแบกรับน้ำหนักไว้ไม่ไหว นั่นหมายความว่าพวกมันต้องเริ่มสร้างรังใหม่อีกครั้ง

.

ที่มา odditycentral | clipmass