รวมข้อเท็จจริงทางวิทยาศาตร์ ที่หนังดังบิดเบือนไป

ภาพยนตร์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ช่วยดึดดูดความสนใจของผู้คนได้ หนังพวกนี้ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้เราสนุกเท่านั้น แต่เรายังได้ความรู้อีกด้วย (อย่างเช่นทำให้เรารู้เรื่องกลไกของจักรวาล) แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างในหนังจะเชื่อถือได้หรอกนะ ถึงแม้ว่าในหนังจะพูดถึงผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ (เช่น นักคณิตสาสตร์ นักภาศาสตร์) แต่ก็ไม่ได้มีข้อมูลที่ถูกต้องทุกอย่าง

วันนี้เราก็มีตัวอย่างของหนังที่ผู้กำกับบิดเบือนกลไกของธรรมชาติไปเพื่อจะทำให้หนังหักมุม!

.

1. The Mertian

ในหนัง: พายุฝุ่นบนดาวอังคารนั้นแรงมากจนทำให้พระเอกสลบไปและถูกทิ้งอยู่บนดาวอังคาร

.

เรื่องจริง: พายุฝุ่นบนดาวอังคารมันเบาจนแทบทำให้ผมแมตต์ เดม่อน ปลิวไม่ได้ด้วยซ้ำ เนื่องจากความหนาแน่นของบรรยากาศบนดาวอังคารนั้นมีค่าน้อยมาก (ประมาณ 1 ใน 200 เท่าของโลก)

.

2. คุณ Andy Weir นักเขียนหนังสือเรื่องนี้ยอมรับว่า ใส่ฉากพายุฝั่นนี้มาเพื่อเพิ่มความตื่นเต้นให้เรื่องราว

ในหนัง: แมตต์ เดม่อน เดินบนดาวอังคารได้ชิวๆ มาก

.

เรื่องจริง: เขาคงตัวเด้งทุกครั้งที่ก้าวเดิน เหมือนกับนักบินอวกาศที่เดินบนดวงจันทร์ แต่เขาจะเด้งตัวได้ต่ำกว่า เพราะแรงโน้มถ่วงบนดาวอังคารสูงกว่าดวงจันทร์ แต่ก็ยังต่ำกว่าโลกมาก

.

3. Interstellar

ในหนัง: ตัวละครที่แมทธิว แมคคอนนาเฮย์เล่น ตกลงไปในหลุมดำ แล้วกลับออกมาแบบยังมีชีวิตรอดและไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรเลย

.

เรื่องจริง: เราหนีหรือเอาชีวิตรอดจากหลุมดำไม่ได้ สนามโน้มถ่วงของหลุมดำนั้นรุนแรงและแปรปรวน วัตถุที่เข้าไปในหลุมดำจะถูกยืดออกเหมือนเส้นบะหมี่

.

ในหนัง: อวกาศมี ”รูหนอน” ซึ่งเราสามารถเดินทางไปที่ไกลมากๆ ได้ภายในพริบตาโดยใช้รูหนอน

.

เรื่องจริง: นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่ามีหลุมดำอยู่จริง แต่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีรูปหนอนอยู่จริง มันเป็นแค่สมมติฐานในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

.

4. Prometheus

ในหนัง: ดาวเอเลี่ยนมีออกซิเจน ทุกคนเลยถอดหมวกออก

.

เรื่องจริง: ไม่มีนักบินอวกาศสติดีๆ คนไหนเขาทำกันหรอก จุลินทรีย์ในดาวเอเลี่ยนจะฆ่าเราตายได้ในไม่กี่วินาที (ระบบภูมิคุ้นกันเราช่วยอะไรไม่ได้หรอกนะ)

.

5. Lucy

ในหนัง: การดึงศักยภาพสมองมาใช้อย่างเต็มที่จะทำให้เรากลายเป็นคนที่มีพลังพิเศษ

.

เรื่องจริง: นักวิทยาศาตร์บอกว่าเรื่องที่คนเราใช้ศักยภาพสมองแค่ 10% นั้นไม่จริง เราใช้ศักยภาพสมอง 100% เลยต่างหาก แค่ไม่ได้ใช้ทุกส่วนในเวลาเดียวกัน ถ้ามีส่วนไหนไม่ได้ใช้ตั้งแต่เกิด มันก็จะฝ่อไป

.

6. Armageddon

ในหนัง: บรูซ วิลลิส กับทีมทำลายดาวเคราะห์น้อยขนาดเท่ารัฐเท็กซัส (พื้นที่ 268,581 ตารางไมล์) ด้วยนิวเคลียร์ขนาด 100 ตัน

.

เรื่องจริง: ทางทีมต้องเอาระเบิดไปอีก 70-80 ล้านลูก! หนังเรื่องนี้มีจุดผิดพลาดทางฟิสิกส์หลายอย่าง อย่างเช่นบนดาวเคราะห์น้อยไม่ควรมีแรงโน้มถ่วง แต่ในหนังนี่ทุกคนเดินบนดาวกันสบายๆ เลย

.

7. Angels & Demons

ในหนัง: แค่ปฏิสสารปริมาณ 0.02 ออนซ์ก็สามารถจะสร้าง “บาดาบูม” ขนาดใหญ่พอจะทำลายวาติกันได้

.

เรื่องจริง: การจะทำปฏิสสารให้สร้างระเบิดได้มันเป็นไปไม่ได้ ปฏิสสารที่ CERN สร้างขึ้นมีพลังงานเท่ากับหลอดไฟ แถมมันยังเคลื่อนย้ายไม่ได้ การจะสร้างที่ใส่ปฏิสสารต้องใช้พลังงานมหาศาล

.

พล็อตนี้ทำให้ผู้คนกลัวกับการระเบิดจากปฏิสสารมากจน CERN ต้องสร้างหน้าเพจในเว็บไซต์เพื่ออธิบายว่าในนิยายกับหนังน่ะมันไม่เป็นความจริง

.

8. The Day After Tomorrow

ในหนัง: เนื่องจากโลกร้อน อากาศเย็นจัดที่อุณหภูมิ -150 องศาเซลเซียสจากชั้นบรรยากาศด้านบนแล้วทำให้คนแข็งตายอย่างทันที

.

เรื่องจริง: อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศด้านบนอนู่ที่ -49 องศาฟาเรนไฮต์ ถึง -103 องศาฟาเรนไฮต์ ถ้าอากาศมันลงมาที่พื้นโลกได้ กว่าจะถึงพื้นโลกอุณหภูมิมันก็อุ่นขึ้นแล้ว

.

9. Gravity

ในหนัง: ดาวเทียมที่แตกทำความเสียหายให้วัตถุอวกาศอื่นๆ ที่คนสร้างขึ้น

.

เรื่องจริง: เหตุการณ์แบบนี้เกิดได้น้อยมาก วัตถุแต่ละอันอยู่ที่ความสูงต่างกัน อยู่ห่างกันมาก เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Kessler syndrome ที่ทำให้วัตถุอื่นถูกทำลายไปด้วย

.

ในหนัง: หลังจากไปสำรวจอวกาศข้างนอก ซานดรา บูลล็อกก็ถอดชุดอวกาศออก ใส่เสื้อยืดกางเกงขาสั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในซีนที่สวยที่สุดในหนัง

.

เรื่องจริง: ภายใต้ชุดอวกาศ นักบินอวกาศสวมชุดพิเศษที่ใช้เก็บของเสียและถ่ายทอดความร้อน ไม่ใช่ชุดน่ารักแบบที่ซานดราใส่!

.

10. Arrival

ในหนัง: นักภาษาศาสตร์พูดได้หลายภาษา

.

เรื่องจริง: นักภาษาศาสตร์ไม่ใช่คนพูดได้หลายภาษา นักภาษาศาตร์คือคนที่ศึกษาโครงสร้างของภาษา นักภาษาศาตร์หลายคนสามารถพูดได้หลายภาษา แต่อีกหลายคนก็ไม่ ก็เหมือนกับว่าการที่เราเข้าใจกฎฟิสิกส์ไม่ได้แปลว่าเราจะเล่นบาสเก็ตบอลได้ดีสักหน่อย

.

ที่มา : brightside | kidjarak