10 การทดลองทางจิตวิทยา ที่เปิดเผยความจริงของมนุษย์เราออกมา

ถึงแม้ว่ามนุษย์เราจะสนใจเรื่องการทำงานของจิตใจและเหตุผลเบื้องหลังพฤติกรรมของเรา แต่การทดลองทางจิตวิทยาเพิ่งมีขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นี้เอง

เราได้รวมเอาการทดลองทางจิตวิทยาที่ดังที่สุดและชวนกระตุ้นความคิดในศตวรรษล่าสุดของเรามาให้ดูกัน การทดลองสุดแปลกและเจ๋งเหล่านี้จะทำให้คุณกลับมาคิดอีกครั้งว่าคุณรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองจริงๆ บ้าง บางทีเราอาจจะควบคุมตัวเองได้น้อยกว่าที่คิด

.

1. การทดลองแบ่งชนชั้น

.

ในปี 1968 หลังจาก Martin Luther King ถูกฆาตกรรม คุณครูชื่อ Jane Elliott พยายามสอนให้เด็กๆ รู้จักกับปัญหาการเลือกปฏิบัติ การเหยียดเชื้อชาติ และความลำเอียง ให้กับเด็กนักเรียนเกรด 3 เขาแบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มตาสีน้ำตาล กับกลุ่มตาสีฟ้า วันแรกเขาปฏิบัติต่อนักเรียนกลุ่มตาสีฟ้าอย่างดี เสริมแรงในทางบวกให้และทำให้นักเรียนตาฟ้ารู้สึกเหนือกว่านักเรียนตาน้ำตาล วันต่อมาเขาสลับไปชื่นชมนักเรียนตาสีน้ำตาลมากกว่านักเรียนตาฟ้า ผลการทดลองคือ กลุ่มที่คุณครูชอบมากกว่าจะตอบคำถามได้เร็วและถูกต้อง สอบได้ดีกว่า คนที่ถูกเลือกปฏิบัติจะรู้สึกหดหู่ ลังเลใจและไม่มั่นใจกับคำตอบ และทำคะแนนได้แย่ในการสอบ

.

2. การทดลองเปียโนดนตรี

.

การทอลองนี้ต้องการทดสอบว่าพฤติกรรมของคนจะเปลี่ยนไปได้ด้วยการทำให้กิจวัตรประจำวันที่น่าเบื่อมีความสนุกมากขึ้น พวกเขาทำการทดลองนี้ในกรุงสตอกโฮล์ม สวีเดน ด้วยการเปลี่ยนขั้นบันไดของสถานีรถไฟใต้ดินให้เป็นเปียโน ผลคือมีคน 66% ใช้บันได้มากกว่าปกติ

.

3. การทดลอง “ไวโอลินในรถไฟใต้ดิน”

.

ในวันที่ 12 มกรคม 2007 Joshua Bell ผู้เชี่ยวชาญด้านไวโลลินมาเล่นไวโลอินที่สถานีรถไฟใต้ดินในวอชิงตันดีซีเป็นเวลา 45 นาที มีคนแค่ 6 คนฟยุดฟัง คน 20 คนให้เงินเขาแต่ก็เดินต่อไป เขาได้เงิน 32 ดอลลาร์ การทดลองนี้ทำให้เกิดคำถามว่าคนเราไม่ได้ให้คุณค่ากับแค่ความงาม ต่ยังให้คุณค่ากับสถานที่และการนำเสนอด้วย เพราะ 3 วันก่อน Bell ไปเล่นดนตรีที่ Boston’s Symphony Hall และได้เงินมากกว่า 100 ดอลลาร์

.

4. การทดลองห้องที่มีควัน

.

เมื่อมีควันเกิดขึ้น คนมากกว่า 75% ออกไปจากห้องแทบจะในทันที แต่เมื่อมีนักแสดง 2 คนเข้ามาอยู่กับผู้ร่วมทดลอง แล้วทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรผิดปกติ มีผู้ร่วมทดลองแค่ 10% เท่านั้นที่ออกจากห้อง นี่เป็นตัวอย่างว่าคนเราจะตอบสนองอย่างช้ากว่าเดิมถ้ามีคนที่เฉื่อยชาอยู่ด้วย

.

5. การทดลอง Robbers Cave

.

ผู้ทดลองเอาเด็กผู้ชายอายุ 11 และ 12 ปีมาทำการทดลอง ตอนแรกเด็กๆ ทั้ง 2 กลุ่มแยกกันและไม่รู้จักกัน พวกเขาสร้างความสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นๆ ในกลุ่มของเขา จากนั้นเด็กๆ ทั้ง 2 กลุ่มก็ได้ทำความรู้จักกัน ผู้ทำการทดลองได้ทำให้ทั้ง 2 กลุ่มเกิดความขัดแย้งกัน ผลคือความเป็นศัตรูและความก้าวร้าวในทั้ 2 กลุ่มเพื่อมขึ้น ในสัปดาห์ที่ 3 ผู้ทดลองสร้างสถานการณืที่เด็กๆ ทั้ง 2 กลุ่มต้องช่วยกันแก้ปัญหา ทั้ง 2 กลุ่มทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหา นี่เป็นการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า การขัดเกลาทางสัคมด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดอคติและการเลือกปฏิบัติ

.

6. การทดลองทางสัมคมของคาร์ลสเบิร์ก

.

ที่เป็นการทดลองที่จัดโดยบริษัทคาร์ลสเบิร์ก ผู้เข้าทดลองเป็นคุ่รัก 2 คนที่จะมาดูหนังแล้วเข้าไปเจอกับโรงหนังที่มีคนอยู่เต็ม มีที่นั่งเหลือแค่ 2 ที่ตรงกลาง นอกนั้นมีพวกไบเกอร์ผู้ชายที่มีรอยสักนั่งอยู่เต็มไปหมด ผลคือไม่ใช่ทุกคนจะไปนั่ง บางคู่ก็ออกจากโรงหนังไปทันทีที่เห็นพวกไบเกอร์ ส่วนคนที่เลือกเข้าไปนั่ง ก็จะได้รับเสียงเชียร์จากทุกคนและได้ดื่มเบียร์คาร์ลสเบิร์กฟรี การทดลองนี้เป็นตัวอย่างว่าทำไมคนถึงไม่ควรตัดสินคนอื่นจากรูปลักษณ์ภายนอก

.

7. การทดลองรถชน

.

ในปี 1974 การทดลองรถชนโดย Loftus และ Palmer ทำขึ้นเพื่พิสูจน์ว่า การถามคำถามสามารถมีอิทธิพลกับสิ่งที่คนจำได้ ด้วยการบิดเบือนความทรงจำของพวกเขาในเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง ผู้ทดลองให้คนที่เห็นรถชนประเมินความเร็วรถด้วยการถามคำถามโดยใช้คำที่ไม่เหมือนกัน พวกเขาถามว่า “รถวิ่งเร็วเท่าไหร่เมื่อคันนี้ชนอย่างจัง/ปะทะ/กระทบ/กระแทก/สัมผัสกับรถอีกคัน” คำกริยาที่ใช้สามารถเปลี่ยนการรับรู้ของผู้ร่วมการทดลองไป คนที่ถูกใช้คำว่า “ชนอย่างจัง” กะความเร็วเป็น 40.8 ไมล์ต่อชั่วโมง ตามมากด้วยคำว่า “ปะทะ” (39.3 ไมล์ต่อชั่วโมง) “กระทบ” (38.1 ไมล์ต่อชั่วโมง) “กระแทก” (34 ไมล์ต่อชั่วโมง) และ “สัมผัส” (31.8 ไมล์ต่อชั่วโมง) พูดอีกอย่างก็คือ คำให้การของพยานอาจจะไม่เป็นกลางเนื่องจากวิธีการถามคำถามหลังจากเกิดอาชญากรรม

.

8. การทดลองของ Milgram

.

การทดลองนี้ทำขึ้นในปี 1961 โดยนักจิตวิทยาชื่อ Stanley Milgram เพื่อวัดว่าคนเราจะเชื่อฟังคนที่มีอำนาจมากแค่ไหน แม้ว่าสิ่งที่ทำจะเป็นอันตรายกับคนอื่น ในการทดลองนั้น ผู้เข้าทดลองจะได้รับบทเป็นคุณครูซึ่งต้องช็อตไฟฟ้านักแสดงที่มาสวมบทเป็นนักเรียน เมื่อนักเรียนตอบคำถามผิด ผู้ร่วมทดลองจะต้องช็อตไฟฟ้าเขา ความจริงแล้วไม่มีใครถูกช็อตจริงๆ แต่นักแสดงจะแสดงเหมือนตัวเองถูกไฟฟ้าช็อตและเจ็บปวดมาก ผู้ร่วมทดลองยังคงช็อตไฟฟ้าต่อไปเมื่อผู้มีอำนาจบอกให้เขาทำ 65% ของผู้ร่วมทดลองช็อตไฟฟ้าถึงความแรงที่ทำให้คนตายได้ นั่นคือ 450 โวลต์ การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าคนธรรมดามักจะทำตามคำสั่งของคนที่มีอำนาจ ถึงแม้คำสั่งนั้นอาจจะเป็นการฆ่ามนุษย์ผู้บริสุทธิ์ การเชื่อฟังผู้มีอำนาจเป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในตัวคนเราตั้งแต่ตอนที่เราถูกเลี้ยงดูมาในสมัยเมื่อยังเป็นเด็ก

.

9. การทดลองมาร์ชเมลโล่

.

การทดลองมาร์ชเมลโล่เป็นการทดสอบความพึงพอใจในช่วงปลาย 1960 ถึงต้น 1970 ทดลองโดยนักจิตวิทยา Walter Mischel พวกเขาทำการทดลองกับเด็กๆ อายุ 4-6 ขวบ เด็กๆ จะได้อยู่ในห้องที่มีขนม (ปกติเป็นมาร์ชเมลโล่ แต่มีการใช้คุกกี้กับแท่งเพรสเซลบ้างเหมือนกัน) วางอยู่ในจาน นักวิจัยจะบอกว่า ถ้าพวกเขารออีก 15 นาทีโดยไม่กินซะก่อน พวกเขาจะได้ขนมชิ้นที่สอง ในจำนวนเด็กมากกว่า 600 คน มีเด็กส่วนน้อยที่กินมาร์ชเมลโล่เลย เด็ก 1 ใน 3 อดใจไหวจนได้รับมาร์ชเมลโล่ชิ้นที่ 2 อายุเป็นส่วนสำคัญในการรอเป็นเวลานานมากขึ้น จากนั้นนักสิจัยก็ตามดูเด็กๆ ตอนโตแล้วพบว่าเด็กที่อดใจจนได้กินมาร์ชเมลโล่ชิ้นที่ 2 มีแนวโน้มจะมีมีชีวิตที่ดี พวกเขาประเมินจากตะแนน SAT, รความสำเร็จทางการศึกษา, ดัชนีมวลกาย และอย่างอื่น

.

10. การทดลองความเห็นพ้องเทียม

.

ในการทดลองนี้ นักวิจัยถามนักศึกษาว่าเต็มใจจะเดินรอบมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 30 นาทีโดยใส่กระดานสองด้านที่เขียนว่า Eat at Joe’s มั้ย นักวิจัยพบว่า ไม่ว่านักศึกษาจะตกลวหรือไม่ตกลง พวกเขาก็จะคิดว่าคนส่วนใหญ่คนอื่นๆ ก็จะคิดเหมือนกันกับพวกเขา นี่เป็นสิ่งที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ความเห็นพ้องเทียม คือไม่ว่าเราจะมีความเชื่อ ความคิดเห็น หรือพฤติกรรมยังไง เรามักจะเขื่อว่าคนส่วนใหญ่คนอื่นๆ ก็เห็นด้วยกับเราและทำสิ่งที่เราทำ

.

ที่มา : boredpanda | kidjarak