ความจริง 9 ข้อของ ‘โรคจิตเภท’ ที่คุณอาจเข้าใจผิดมาตลอดชีวิต…

โรคจิตเภท คืออาการทางจิตของมนุษย์เรา ทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้เกิดความคิดและความเชื่อแปลกๆ ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง บางครั้งอาจทำให้เกิดภาพหลอน มองเห็นอะไรที่ไม่เป็นความจริง หลายครั้งมนุษย์เราเรียกคนที่เป็นโรคจิตเภทว่า “คนบ้า” แน่นอนว่า อาการทางจิตทั้งหลายเป็นเรื่องเข้าใจยาก โดยเฉพาะโรคจิตเภททีี่ถือว่าเป็นโรคค่อนข้างรุนแรง ยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้นการที่คนเราไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “โรคจิตเภท” นั้นยิ่งทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ยิ่งใช้ชีวิตอยู่บนโลกได้ลำบากมากขึ้น

วันนี้เราจึงขอเสนอ 9 ความจริงเกี่ยวกับโรคจิตเภทที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ ว่าแต่มีความจริงอะไรบ้าง เชิญไปรับชมกันได้เลย…

1. คนเป็นโรคจิตเภทจะมีหลายบุคลิก

ถ้าจะพูดให้ถูกจริงๆ แทนที่จะใช้คำว่ามีหลายบุคลิก ควรใช้คำว่า “จิตใจซับซ้อน” มากกว่า เพราะไม่ใช่ผู้ป่วยโรคจิตเภททุกคนจะมีหลายบุคลิกหรือหูแว่ว

การมีจิตใจซับซ้อนและหลายรูปแบบนั้นทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์แปรปรวน เช่น เดี๋ยวชอบเดี๋ยวเกลียดสิ่งเดียวกันในเวลาอันสั้น หรืออาจจะเสียใจอย่างหนักกับเรื่องเล็กๆ แต่กลับเฉยชากับความโศกเศร้าที่รุนแรง เป็นต้น

2. โรคจิตเภทเป็นโรคที่หายาก

ไม่เชิงเป็นจริงเสียทีเดียว จากประชากรทั้งหมด จะมีผู้เป็นโรคนี้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ซึ่งดูเหมือนน้อยก็จริง แต่มันกลับถูกพบเห็นได้บ่อยกว่าที่คิด ในทุกๆ 1,000 คน จะมีคนเป็นโรคจิตเภทประมาณ 5 คนได้

3. ผู้คนที่เป็นโรคจิตเภทนั้นคาดเดาไม่ได้ จึงเป็นอันตรายต่อสังคม

หากคุณกำลังเข้าใจแบบนี้อาจจะเป็นเพราะคุณดูหนังมากเกินไป ผู้ป่วยโรคจิตเภทนั้นไม่ได้มีความก้าวร้าวรุนแรงหรือเป็นอันตรายไปกว่าคนปกติเลย

ว่ากันตามจริงพวกเขาไม่ได้เป็นคนก้าวร้าว แต่ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์ก้าวร้าวต่างหาก ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการต่อต้านสังคม แต่ปัจจุบันก็สามารถควบคุมได้ด้วยยา

4. สิ่งที่เลวร้ายที่สุดสำหรับโรคจิตเภทก็คือ “การมองเห็นภาพหลอน”

จริงอยู่ที่ว่า การมองเห็นภาพลวงตาหรือภาพหลอนนั้นเป็นเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยดูไม่ปกติและต้องเข้ารับการบำบัดรักษา แต่ทุกวันนี้ การมองเห็นภาพหลอนสามารถรักษาได้อย่างง่ายด้วยยาที่เรียกว่า Antipsychotics

คราวนี้ สิ่งที่แย่ที่สุดกลับกลายเป็นเรื่องของผลข้างเคียงด้านลบของยารักษาต่างหาก เพราะมันทำให้ง่วง ไม่อยากคุยกับผู้อื่น ไร้อารมณ์ และอาการเจ้าชายนิทรา ผลข้างเคียงเหล่านี้ทำให้พวกเขายากที่จะเข้าสังคมไม่ว่ากับเพื่อนหรือที่ทำงาน

5. มีแต่ผู้ป่วยเป็นโรคจิตเภทเท่านั้นที่หูแว่ว

ถือว่าอาการเป็นปกติของมนุษย์ที่จะได้ยินเสียงในหัวบ้าง ราวๆ 5-15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่จะเคยสัมผัสกับอาการหูแว่ว ซึ่งหลายคนเองก็เคยมีอาการหูแว่วเช่นกันแต่มักไม่ยอมรับเนื่องจากกลัวจะถูกมองว่าบ้า

ไม่ใช่เฉพาะผู้ป่วยโรคจิตเภทเท่านั้นที่มีอาการหูแว่ว เพราะอาการนี้แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อคนเรามีความเครียด เหนื่อยล้า และกำลังจะนอนหลับ

6. โรคจิตเภทไม่มีวันหาย

ที่จริงแล้วมันไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะบางคนหลังเข้ารับการบำบัดก็มีอาการดีขึ้นอย่างช้าๆ แต่ก็เป็นส่วนน้อย ผู้ป่วย 25 เปอร์เซ็นต์ มีอาการของโรคจิตเภทเพียงหนึ่งครั้ง และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ได้เข้ารับการรักษา

ส่วนผู้ป่วยอีกกลุ่ม จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่อาการก็ดีขึ้นและใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ส่วนผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งก็มีิอาการของโรคจิตเภทเป็นเวลานาน แต่ก็เป็นอาการที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเท่าใดนัก

7. ผู้ป่วยโรคจิตเภทนั้นมักเป็นอัจฉริยะ พวกเขาไม่ได้ป่วยแต่พวกเขาแค่แตกต่าง

ในแง่หนึ่งโรคจิตเภทก็อาจจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงได้ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ผู้ป่วยโรคจิตเภทกับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ก็มีความคล้ายคลึงกัน

ในสมองส่วนทาลามัสจะมีตัวรับสารโดปามีนที่ทำหน้าที่ลดระดับการคัดกรองสัมผัสต่างๆ การมีอยู่ของตัวรับโดปามีนนี้เชื่อว่าจะเป็นตัวกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น ถึงแม้ดูเหมือนจะช่วยให้เป็นอัจฉริยะทางศิลปะ แต่โรคจิตเภทก็ยังคงเป็นโรคที่ควรได้รับการรักษาอยู่ดี

8. โรคจิตเภทเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ที่จริงกระบวนการของโรคจิตเภทนั้นช้ามาก มันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถรู้ได้ว่าใครเป็นโรคจิตเภทหากอยู่ในช่วงเริ่มต้น สัญญาณแรกที่จะสังเกตได้ก็คือ ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการทำงาน การเรียนรู้ การสื่อสาร และสมาธิ

ซึ่งที่จริงสัญญาณเหล่านี้อาจะเกิดกับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคจิตเภทก็ได้ แต่เมื่ออาการเริ่มเลวร้ายลง เมื่อนั้นผู้ป่วยก็จะเริ่มหูแว่ว ซึ่งระยะนี้เหมาะที่สุดสำหรับการรักษา นอกจากนี้ยังมีเพียงไม่กี่คนที่มีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากระยะแรกผ่านไป

9. แบบวัดโรคจิตเภทที่พบเห็นในอินเทอร์เน็ตนั้นไร้สาระ

คุณอาจจะเคยเห็นแบบวัดที่ถามคำถามเช่น “มีอะไรที่เหมือนกันระหว่างดินสอและรองเท้าบูท?” ซึ่งดูเหมือนไม่ใช่เรื่องจริงจัง แต่หากนำไปวิเคราะห์เชิงจิตวิทยาแล้ว มันสามารถระบุถึงความคิดที่แปรปรวนของคน ซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าเป็นโรคจิตเภทหรือไม่

คนปกติมักจะมองว่าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันนั้นไม่มีอะไรเหมือนกันสักอย่าง แต่ผู้ที่มีอาการป่วยโรคจิตเภทอาจจะหาความเชื่อมโยงได้อย่างชัดเจน เช่น “ทั้งดินสอและรองเท้าบูทมีความเหมือนกันกันคือ เมื่อใช้มันแล้ว มันจะทิ้งร่องรอยเอาไว้” เป็นต้น

หรืออย่างเช่นแบบวัดของ รอร์สชาช (Rorschach test) ที่ให้มองภาพหมึกหยดแล้วจินตนาการเอาว่าเป็นรูปอะไร

เช่นภาพด้านบนนี้คนปกติอาจมองเป็นผีเสื้อหรืิอค้างคาว แต่ผู้ที่มีอาการของโรคจิตเภทนั้นจะมองภาพแบบลึกล้ำมาก เขาอาจจะมองเป็น กระต่ายที่ลากผู้หญิงมาสองคนข้างกาย เป็นต้น

สรุปแล้วพวกแบบวัดโรคจิตเภทที่เราสามารถพบเจอได้บนอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ได้ไร้สาระ เราอาจจะลองเข้าไปทำเพื่อวัดอาการจิตเภทของตนเองก็ได้

ทั้งนี้ บทความนี้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคจิตเภท อย่างน้อยก็ทำให้ทราบว่าพวกเขาก็เหมือนคนปกติ ที่มีอาการป่วย และก็ไม่ได้น่ากลัวแบบในหนังด้วย

ที่มา brightside | clipmass