8 ทฤษฎีสุดเพี้ยนที่สาวก แฮร์รี พอตเตอร์ มโนขึ้นมาเอง

ปฎิเสธไม่ได้ว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์คือหนึ่งในนิยายและภาพยนต์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดแห่งยุคนี้ เรื่องราวของโลกเวทมนตร์ที่ซับซ้อนและเป็นปริศนา ซึ่งนำไปสู่ทฤษฎีมากมายที่ผู้ชมคิดขึ้นมาเองแม้มันจะฟังดูเพี้ยนบ้างก็ตาม

8. ชาวฮัฟเฟิลพัฟคือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ชาวฮัฟเฟิลพัฟดูจะผ่อนคลายที่สุดในเรื่องเพราะบ้านนี้เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของความเมตตา ความสงบ และแน่นอนว่านิ้วสีเขียวของพวกเขา ซึ่งทฤษฎีที่ว่าฮัฟเฟิลพัฟนั้นเป็นบ้านของชาวสมุนไพรที่รอบรู้ในเรื่องของพืชที่เทียบได้กับเวทมนตร์ของโวลเดอมอร์ก็เป็นได้ นั้นทำให้ฮัฟเฟิลพัฟเป็นดั่งบ้านของเหล่าผู้มีน้ำหนักมากนั้นก็เพราะห้องโถงของบ้านนี้อยู่ติดกับครัวซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่มีคำว่า PUFF (แปลได้ว่าอ้วน) ในชื่อของบ้านนี้

7. เด็กหนุ่มที่อาศัยใต้บันได

นี้เป็นทฤษฎีที่ออกมาช่วงแรกเมื่อเริ่มนิยายเรื่องนี้ โดยเรารู้กันว่าพอตเตอร์นั้นอาศัยในห้องใต้บันไดของบ้านป้า ซึ่งเขานั้นยังเด็กบวกกับความเศร้าและการเป็นเด็กกำพร้าอาจจะทำให้เขาจินตนาการเพื่อการหลีกหนีความจริงก็เป็นได้ โดยการสร้างโลกแห่งเวทมนตร์ขึ้นมาในสมองของเขาก็ฟังดูเป็นไปได้เนื่องจากความรุนแรงในครอบครัวทำให้หลายๆคนหันไปจินตนาการในสิ่งที่ตัวเองไม่มีวันเป็นได้เช่นเรื่องของการเป็นผู้ถูกเลือก โลกเวทมนตร์ที่ทำให้ทิ้งความจริงที่ตนเองไม่อยากสนใจอะไรและน่าหม่นหมอง

6. เกิดสงครามพ่อมดอยู่แล้ว

ในโลกที่พ่อมดต้องคอยเก็บความลับไว้จากเหล่าคนปกตินั้นน่าจะเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อมีนักเรียนมากมายที่มาจากพ่อแม่ที่ไม่ใช่นักเวทมนตร์เข้ามาเรียนในฮอกวอตส์ นึกถึงพลังของเด็กหนุ่มถือไม้กายสิทธ์กับคนปกติสิมันน่าแปลกไหมที่โลกเวทมนตร์ไม้ได้ใช้ประโยชน์นี้ในการรักษาตำแหน่งของตัวเองเอาไว้ นี้อาจจะเป็นไปได้ว่าพวกเขาพยายามแล้วแต่พ่ายแพ้ให้กับเหล่ามักเกิ้ล โดยคำพูดจากรัญมนตรีกระทรวงเวทมนตร์ที่บอกว่าต้องไปรายงานท่านนายกรัฐมนตรีนั้นอาจจะบอกได้ว่ามีข้อตกลงระหว่างทั้งสองเผ่าที่เกิดจากการขัดแย้งบางอย่างก่อนที่เรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์จะเริ่มต้น

5. แฮร์รี่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของน้ำยาลุ่มหลง

เรื่องนี้อาจจะดูมืดดำไปบ้างในความสัมพันธ์ของแฮร์รี่และจินนี่ มีการพูดเรื่องของน้ำยาลุ่มหลงมากมายในเรื่องของพอตเตอร์ ทั้งในการหลอกล่อลอร์ดโวลเดอมอร์ ทั้งเรื่องที่รอนโดนวางยาในกล่องช็อกโกแล็ต และเรื่องราวมากมายในนิยาย ดังนั้นอาจจะไม่น่าแปลกใจถ้าน้องสาวของเขาได้ใช้ยานี้บ้างกับแฮร์รี่ เพราะทั้งคู่ไม่ได้มีเรื่องรักต่อกันเลยตลอดหลายปีของนิยายเรื่องนี้

4. ศาสดราจารย์มักกอนนากัลคือผู้เสพความตาย

ทฤษฎีนี้มีหลักฐานน้อยมากแต่ก็ดูเป็นไปได้ ด้วยวิธีการสอนที่ของศาสดราจารย์มักทำให้แฮร์รี่ผิดพลาดและตกอยู่ในอันตรายได้ทุกเมื่อ ซึ่งอาจจะมาจากคำสั่งของโวลเดอมอร์ในการทำให้แทรกซึมเข้าไปในกลุ่มของแฮร์รี่ ในคำพูดนึงที่บ่งบอกทฤษฎีนี้นั้นคือการที่เธอบอกว่าจริงๆ พวกมักเกิ้ลก็ไม่ได้โง่ไม่ซะทีเดียว รวมทั้งการที่เธอเป็นนักแปลงร่างที่เก่งกาจซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นผู้เสพความตายที่แปลงร่างมาก็เป็นได้

3. ดัมเบิลดอร์คือทุกสิ่งและทุกคน

อาจารย์ใหญ่แห่งฮอว์กอตมีเรื่องราวมากมาย โดยเขาเองอาจจะเป็นทั้งยมฑูตที่สร้างฮอร์ครักซ์ไว้และทำให้ตัวเองเป็นอมตะ หรือแม้แต่การที่เขาคือรอนที่ข้ามเวลามา ไม่น่าแปลกใจที่เรื่องนี้จะเป็นจริง แม้แต่เรื่องที่ตัวเขานั้นชอบลูกกวาดเหมือนกันด้วย หลักฐานอื่นๆ มาจากลักษณะในร่างกายที่เหมือนๆ กัน รวมทั้งในภาคแรกของเรื่องนี้ ในฉากเล่นหมากรุก รอนเลือกที่จะควบคุมทั้งหมากอัศวินและหมากพระราชา ซึ่งเปรียบเสมือนอัศวินที่คอยสนับสนุนแฮร์รี่ และสิ่งดัมเบิลดอร์ที่ทำมาตลอดนั่นคือผู้จัดการสงครามระหว่างความดีและปีศาจซึ่งเปรียบเสมือนราชา

2. จริงๆ แล้วจอร์จคือวิลลี่ วองก้า

นี้ของทฤษฎีที่มาจากการสังเกตความคล้ายกัน โดยจอร์จอาจทำธุรกิจร้านขนมต่อไปหลังการจากไปของเฟร็ด สร้างเรื่องราวที่ประหลาดใจและความอัศจรรย์ในโลกแห่งมักเกิ้ลซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยที่โรงงานของวิลลี่ วองก้านั้นจะเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ การกลัวในผู้เสพความตายทำให้เขาขังตัวเองในโรงงานก่อนที่จะมีการเริ่มโครงการตั๋วทองคำ ถ้ากลับไปดูออฟฟิสของเขาในเรื่องจะพบสิ่งของต่างๆหักเหลือเพียงครึ่งเดียว วองก้าสวมหมวกที่เหมือนกับรูปปั้นที่ร้านของเขา และสำคัญที่สุดคือการที่วิลลี่ วองก้าหูหนวกเหมือนกับจอร์จที่มาจากการรบนั้นเอง

1. เจ เค โรว์ลิ่ง คือ ริต้า สกิตเตอร์

มันเหลือเชื่อยิ่งกว่าชานชลาที่ 9 ¾ ซะอีกที่ทั้งคู่นั้นคือคนเดียวกัน ทั้งคู่เป็นนักเขียน มีผมสีทอง นิสัยบ๊องเล็กน้อย และทั้งคู่สำคัญต่อโลกของพอตเตอร์เหมือนกัน นั้นทำให้เกิดทฤษฎีที่ว่าสกิตเตอร์อาจจะก่อปัญหาขึ้นจากนิสัยของเธอซึ่งทำให้ถูกขับไล่ออกจากโลกเวทมนตร์ ซึ่งทำให้เธอเลือกที่จะแก้แค้นโดยการเผยความลับของโลกพ่อมดซะในชื่อของ เจ เค โรว์ลิ่งนั้นเอง

ที่มา : whatculture