10 เทคนิคในการดูว่าภาพไหนปลอม หรือเป็นภาพตัดต่อมาหลอกคุณได้

มีภาพปลอมที่ทำโดยโปรแกรม Photoshop มากมายในอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการสร้างข่าวเท็จ ผู้คน 4 ใน 10 ไม่สามารถระบุได้ว่าภาพไหนจริงหรือเท็จกันแน่ วันนี้เรามี 10 คำแนะนำในการช่วยคุณตรวจสอบว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก่อนที่คุณจะแชร์มันออกไป

1. ตรวจสอบพื้นหลังว่ามีการบิดเบี้ยวไหม

Photoshop นั้นใช้งานกันอย่างแพร่หลายโดยนิตยสารและคนดังเพื่อให้รูปร่างของตนนั้นไม่มีข้อเสียใดๆ โดยการดันส่วนของภาพนั้นให้ผอมลงหรือให้ได้สัดส่วนมากขึ้น นั้นทำให้ภาพพื้นหลังมีการเบี้ยวหรือโค้งจนผิดปกติไปเหมือนดั่งภาพนี้ของ Beyonce ที่มีความผิดปกติตรงส่วนแก้วและโซฟา

2. ใส่ใจในเงาสะท้อน

ผู้ใช้งานส่วนใหญ่นั้นมีความรู้จำกัดในการใช้งาน Photoshop บ่อยครั้งคนเหล่านี้มักลืมการสร้างเงาให้ถูกต้องซึ่งมันเป็นงานที่ยากที่สุดงานหนึ่งในการสร้างภาพ ถ้ามีเงาในภาพและคุณยังมีข้อสงสัย ลองวาดเส้นจากจุดหนึ่งของภาพไปยังจุดของเงาที่ตอบสนองกันว่ามันเหมือนกันไหมและทุกเส้นมาจากแหล่งกำเนิดแสงเดียวกันทั้งภาพหรือไม่

3. ระวังรูปที่คุณภาพต่ำ

การสร้างส่วนของภาพส่วนใหญ่นั้นจะปรากฎอาการเบลอหรือไม่ชัดที่ขอบของส่วนนั้นๆ:เช่นภาพนี้ส่วนของกล้ามบนนักเพาะกายนั้นมีส่วนของการเบลอที่ไม่ชัดเจน นักทำภาพส่วนใหญ่มักลดคุณภาพของรูปลงไป การทำเช่นนี้เราจะเห็นส่วนต่างของภาพที่ทำกับส่วนที่ไม่ได้ถูกแต่งเติมว่ามีคุณภาพที่ต่างกันไป

4. ค้นหารูปแบบที่เหมือนกัน

นักสร้างภาพส่วนใหญ่มักลอกรูปมาใช้ในภาพเดียวกันซ้ำๆ ดั่งภาพนี้เราจะพบว่ารูปของจรวดนำวิถีลำที่สองจากขวามือนั้นเหมือนกันเลยกับจรวดทางฝั่งซ้ายของมันและควันจากจรวดด้านล่างยังเหมือนกับควันของจรวดทางขวาอีกด้วย แท้จริงแล้วภาพนี้ถูกตกแต่งซึ่งเดิมทีนั้นในภาพมีจรวดแค่สามลูกเท่านั้น

5. ประเมินมุมมอง เงาและสัดส่วน

เมื่อใส่วัตถุจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่งมันจะต้องใช้ทักษะที่เชี่ยวชาญอย่างมากในการปรับแต่งสี แสงและความคมชัดให้เท่าๆ กันระหว่างส่วนต่างๆ ที่เติมเข้ามา ในภาพนี้ผู้นำโลกกำลังตั้งใจฟัง Putin ซึ่งเป็นภาพที่กระจายไปทั่วอินเตอร์เน็ตหลังจากการประชุมสุดยอด G20 ถ้าคุณมองไปที่รัฐมนตรีต่างประเทศของตุรกีก็จะพบว่าเขานั้นกำลังจะจูบหัวของปูติน ถ้าในรูปนั้นเป็นของจริง

6. ใช้งานการค้นหาภาพ

หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการดูว่าภาพนั้นเป็นของปลอมหรือไม่นั้นคือใช้งานการค้นหาใน Google Images หรือ TinEye ดั่งในภาพนี้ที่ปรากฎฉลามว่ายอยู่บนถนนในช่วงเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ การใช้งานส่วนค้นหาภาพจะนำคุณไปค้นหาว่าต้นกำเนิดของภาพนี้ครั้งแรกว่าอยู่ที่ไหนหรือหาว่าภาพนั้นเดิมทีเป็นเช่นไรได้

7. ประเมินความเป็นธรรมชาติของสีและโทน

สีที่ไม่เป็นธรรมชาติทำให้เราสงสัยได้ว่าภาพนั้นมีการตกแต่งขึ้นมา ภาพของพืชพันธ์สีม่วงมักปรากฎในอินเตอร์เน็ทที่ทำให้เรานั้นตื่นตาและชื่นชอบอยู่เสมอ แท้จริงแล้วสีม่วงนี้เป็นสิ่งที่ตกแต่งขึ้นมาโดยภาพจริงนั้นต้นไม้เป็นสีเขียวที่ดูแล้วก็ยังสวยงามในแบบของมันเองอยู่ดี

8. สังเกตส่วนของร่างกายที่ผิดปกติ

###

หนึ่งในความผิดพลาดที่พบได้บ่อยนั้นคือความผิดพลาดในส่วนของแขนและขาของตัวแบบในภาพที่ง่ายมากในการสังเกต เหมือในโปสเตอร์ของ Netflix อันนี้ที่ซึ่งนัดแสดงสาวปรากฎว่ามีมือขวาสองมือ หรือในภาพของนางแบบในโฆษณาที่มือหายไปหนึ่งข้าง บางครั้งคนสร้างภาพมืออาชีพก็ตาบอดได้เช่นกัน

9. ตรวจสอบข้อมูลเมทาของภาพ

ในบางเวบไซต์คุณสามารถเจาะลึกในข้อมูลของภาพและตรวจสอบข้อมูลเมทาได้ โดยดูได้ว่าภาพนี้ถ่ายที่ไหนและถ่ายด้วยสิ่งใดรวมทั้งวิธีการตั้งค่าการถ่าย ข้อมูลที่สำคัญของภาพถูกรวมว่าภายใต้หัวข้อ EXIF ซึ่งจะบอกเราได้ว่ามันเป็นภาพที่เปิดและบันทึกใน Photoshop หรือโปรแกรมการแต่งภาพอื่นมาแล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้จะถูกนำออกไปเมื่อภาพถูกอัปโหลดเข้าสู่ Facebook และ Twitter

10. ใช้สามัญสำนึก

สุดท้ายคุณต้องคิดทบทวนให้ดีก่อนจะเชื่อว่าภาพนั้นเป็นของจริงหรือไม่เมื่อพบเห็นทางออนไลน์ เช่นภาพด้านบนที่ไม่ได้ถ่ายจากช่วงเกิดเฮอริเคน Sandy แต่มันเป็นฉากหนึ่งจากภาพยนต์ในปี 2004 เรื่องThe Day After Tomorrow

ที่มา : brightside